ประวัติความเป็นมาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เดิมตั้งอยู่ ณ อาคาร 3 ห้อง 3/205 ปัจจุบันได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โทรศัพท์ – โทรสาร 036-427494 website http://it.tru.ac.th
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศได้เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2528 โดยเริ่มจัดตั้งเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่ออบรมคอมพิวเตอร์ให้แก่บุคคลทั่วไป ในปีพ.ศ. 2549 ได้พัฒนาเป็นภาควิชา และเปิดสอนในหลักสูตรคอมพิวเตอร์ ระดับอนุปริญญา สาขาคอมพิวเตอร์ ปีพ.ศ. 2530 จัดตั้งเป็นภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา เปิดสอนในระดับอนุปริญญา สาขาคอมพิวเตอร์ และระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา ปีพ.ศ. 2537 เปิดสอนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาตรี ปีพ.ศ. 2542 เปลี่ยนจากภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชา ประกอบด้วย
- โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
- โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2546 เปิดสอนระดับปริญญาตรีเพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และในวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ได้เริ่มโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมี 3 โปรแกรมวิชา คือ
- โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
- โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปีการศึกษา 2550 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศเปิดสอนระดับปริญญาตรี เพิ่มอีก 2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
- สาขาวิชาการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ
ในปีการศึกษา 2551 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนในระดับปริญญาโท เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (มหาบัณฑิต)
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 6 มาตรา 10 วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี พ.ศ. 2549 หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกกฎกระทรวงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 การจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี แบ่งออกเป็น 10 ส่วนราชการ ประกอบด้วย คณะวิชา 6 คณะวิชา 3 สำนัก และ 1 สถาบัน ได้แก่
- คณะครุศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- สำนักงานอธิการบดี
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนที่ 20 ก หน้า 15 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2548 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป และมีผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดี และคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน ดังนี้
1. อาจารย์สมชาย แสงทอง ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดี พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2547
2. ผศ.ดร.อุไร เงินงอก ดำรงตำแหน่งคณบดี พ.ศ. 2548 – 2556
3. ผศ.ดร.สัมฤทธิ์ เสนกาศ ดำรงตำแหน่งคณบดี พ.ศ.2556 – ปัจจุบัน
ตราสัญลักษณ์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนที่ 20 ก หน้า 15 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2548 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป และมีผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดี และคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน ดังนี้
ตัวอักษร IT หมายถึง Information Technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนสนเทศ สาขาวิชา ที่คณะเปิดสอนมี 4 สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
รูป 5 เหลี่ยม 2 รูปเชื่อมต่อกัน หมายถึงความสัมพันธ์ และความผูกพันระหว่างอาจารย์ทุกสาขาวิชากับนักศึกษาทุกสาขาวิชา
ภายในจะประกอบไปด้วยชื่อคณะคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” และตัวเลขระหว่าง 0 และ 1 สลับกันเป็นสัญลักษณ์เลขฐานสองที่ใช้ในระบบพื้นฐานในการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยมีการประมวลผลแบบดิจิทัล
รัศมีกระจาย หมายถึง ความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองด้านการศึกษา และการวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะแผ่ขยายไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับสากล
สีประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ สีแสด
ดอกไม้ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ดอกพวงแสด

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายวัตถุประสงค์ ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปรัชญา
เลอเลิศคุณธรรม มุ่งนำเทคโนโลยี ดำรงวิถีประเพณีไทย
วิสัยทัศน์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นแหล่งผลิตและพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and CommunicationTechnology ) หรือ ( ICT ) และยังเป็นแหล่งความรู้และที่พึ่งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของท้องถิ่นและภูมิภาค
พันธกิจ
- ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สนอง
ความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ
- ทำการวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- พัฒนาบุคลากรผู้สอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- จัดอบรมเชิงวิชาการและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก่ท้องถิ่น
- การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เป้าหมาย
- คนในท้องถิ่นและภูมิภาคได้รับการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ทั่วถึงและเท่าเทียม
- บัณฑิตและบุคลากรของท้องถิ่นและภูมิภาคมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นและภูมิภาค
- มีกระบวนการศึกษา พัฒนาและวิจัยด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
- บัณฑิตมีความรู้และตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรม
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการอบรมและพัฒนา
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการ และการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผลิตผลงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาที่เกี่ยวข้อง
- สร้างความร่วมมือและเป็นผู้นำในการประสานงานวิชาการการศึกษาและพัฒนาการวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาที่เกี่ยวข้อง
- การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
- ให้บริการทางวิชาการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานและอาจารย์ในคณะ
บทบาทหน้าที่ของคณะฯ
- ประสานงานกับโปรแกรมวิชาต่าง ๆ ในสังกัดของคณะและส่วนราชการอื่นของมหาวิทยาลัยที่เป็นงานและหน้าที่ของคณะหรือโปรแกรมวิชา
- ดำเนินการด้านสารบรรณและธุรการของคณะ
- จัดการและบริการด้านการพิมพ์ อัดสำเนา ถ่ายเอกสาร และจัดทำเอกสารของคณะและโปรแกรมวิชา
- จัดหาและบริการวัสดุครุภัณฑ์ ควบคุมดูแล เก็บรักษา และจัดทำทะเบียนวัสดุครุภัณฑ์ของคณะและโปรแกรมวิชา
- จัดรวบรวมและบริการข้อมูลสถิติต่าง ๆ ของคณะและโปรแกรมวิชา
- เก็บรักษาและบริการเอกสารที่คณะหรือโปรแกรมวิชาจัดทำ
- จัดการประชุมบันทึกการประชุม รายงานการประชุมของคณะ
- เก็บรวบรวมระเบียบคำสั่ง ประกาศเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่ของคณะและโปรแกรมวิชา
- แจ้งมติการประชุมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และติดตามผลการปฏิบัติงานตามมติของการประชุมของคณะและโปรแกรมวิชา
- รวบรวมและจัดทำโครงการหรืองบประมาณของคณะและโปรแกรมวิชา
- ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานหรือโครงการของคณะและโปรแกรมวิชา
- จัดทำปฏิทินงานของคณะ
- ติดต่อและประสานงานในการจัดทำแผนการเรียนการสอนและการจัดอาจารย์สอน การจัดหาวิทยากร การฝึกอบรม
- ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุมัติซื้อ การจ้าง การเสนอบันทึกข้อความคำร้องเพื่อการขออนุมัติ
- จัดทำร่างประกาศ คำสั่ง หรือระเบียบที่เกี่ยวกับกิจการของคณะและโปรแกรมวิชา
- เสนอระเบียบแนวทางวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานและการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการศึกษาของคณะ
- ส่งเสริม สนับสนุน การเผยแพร่ผลงาน การสร้างผลงานวิจัย การศึกษาค้นคว้า และการปฏิบัติงานตามภาวะหน้าที่ของอาจารย์
- จัดสวัสดิการด้านต่าง ๆ แก่อาจารย์ในคณะที่นอกเหนือจากภาระหน้าที่ของสำนักงานอธิการบดี
- ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย
บทบาทหน้าที่อาจารย์ประจำคณะ
1. งานสอน
1.1 เตรียมการสอน วางแผนการเรียนการสอน และจัดทำการเรียนการสอน
1.2 ปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
1.3 วัดผล และประเมินผลการเรียนการสอน ให้ทันตามกำหนดปฏิทินของมหาวิทยาลัยด้วยความยุติธรรมและถูกต้องตามหลักวิชาการ
1.4 จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน และตำราในรายวิชาที่สอน
2. งานศึกษาค้นคว้าวิจัย
2.1 ศึกษาค้นคว้า ความรู้และเทคนิคการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.2 ศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยในรายวิชาหรือสาขาวิชาที่ปฏิบัติงาน
2.3 นำผลการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ประโยชน์ในการเรียน
การสอนหรือการปฏิบัติงาน
3. งานบริการทางวิชาการ
3.1 ให้บริการด้านวิชาการ และร่วมมือกับคณะ ตลอดจนหน่วยงานอื่นของมหาวิทยาลัย
3.2 ให้บริการด้านวิชาการแก่สังคม เช่น การเป็นวิทยากร การฝึกอบรม หรือ ร่วมกิจกรรม
ทางวิชาการของสังคม
4. งานด้านนิเทศและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
4.1 นิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในโปรแกรมวิชาที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
4.2 ร่วมมือและช่วยเหลืองานการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของมหาวิทยาลัย
5. งานด้านทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5.1 ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมของโปรแกรมวิชา คณะและ
หน่วยงานอื่นของมหาวิทยาลัย
- เป็นผู้นำการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แก่นักศึกษา
6. งานด้านที่ปรึกษาชมรม / ที่ปรึกษานักศึกษา
6.1 เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำทางวิชาการ
6.2 อบรมศีลธรรม จรรยามารยาทแก่นักศึกษา